เมนู

อุบาสิกา. ท่านจักไปที่ไหน ? พระผู้เป็นเจ้า.
ภิกษุ. ฉันจักไปสู่สำนักพระศาสดา อุบาสิกา.
อุบาสิกา. ขอท่านจงอยู่ในที่นี้ก่อนเถิด เจ้าข้า.
ภิกษุนั้นกล่าวว่า " ฉันจักไม่อยู่ อุบาสิกา จักต้องไปอย่างแน่นอน"
แล้วได้เดินออก ( จากที่นั้น ) ไปสู่สำนักของพระศาสดา.

พระศาสดาแนะให้รักษาจิตอย่างเดียว


ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามเธอว่า " ภิกษุ เธออยู่ในที่นั้น
ไม่ได้หรือ ?"
ภิกษุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ไม่สามารถอยู่ใน
ที่นั้นได้.
พระศาสดา. เพราะเหตุไร ? ภิกษุ.
ภิกษุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ( เพราะว่า) อุบาสิกานั้น ย่อม
รู้ถึงเรื่องอันคนอื่นคิดแล้ว ๆ ทุกประการ, ข้าพระองค์คิดว่า " ก็ธรรมดา
ปุถุชน ย่อมคิดอารมณ์อันงามบ้าง ไม่งามบ้าง; ถ้าเราจักคิดสิ่งบางอย่าง
อันไม่สมควรแล้วไซร้, อุบาสิกานั้น ก็จักยังเราให้ถึงซึ่งประการอันแปลก
เหมือนจับโจรที่มวยผมพร้อมทั้งของกลางฉะนั้น" ดังนี้แล้วจึงได้มา.
พระศาสดา. ภิกษุ เธอควรอยู่ในที่นั้นแหละ.
ภิกษุ. ข้าพระองค์ไม่สามารถ พระเจ้าข้า ข้าพระองค์จักอยู่ใน
ที่นั้นไม่ได้.
พระศาสดา. ภิกษุ ถ้าอย่างนั้น เธอจักอาจรักษาสิ่งหนึ่งเท่านั้น
ได้ไหม ?

ภิกษุ. รักษาอะไร ? พระเจ้าข้า.
พระศาสดา ตรัสว่า " เธอจงรักษาจิตของเธอนั่นแหละ ธรรมดา
จิตนี้บุคคลรักษาได้ยาก, เธอจงข่มจิตของเธอไว้ให้ได้ อย่าคิดถึงอารมณ์
อะไร ๆ อย่างอื่น, ธรรมดาจิตอันบุคคลข่มได้ยาก" ดังนี้แล้วจึงตรัส
พระคาถานี้ว่า
2. ทุนฺนิคฺคหสฺส ลหุโน ยตฺถ กามนิปาติโน
จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ.
"การฝึกจิตอันข่มได้ยาก เป็นธรรมดาเร็ว
มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่ เป็นการดี (เพราะ
ว่า ) จิตที่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นเหตุนำสุขมาให้.


แก้อรรถ


บัณฑิตพึงทราบวิเคราะห์ในพระคาถานั้น (ดังต่อไปนี้). ธรรมดา
จิตนี้ อันบุคคลย่อมข่มได้โดยยาก เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ทุนฺนิคฺคหํ.
จิตนี้ย่อมเกิดและดับเร็ว เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ลหุ ซึ่งจิต
อันข่มได้ยาก อันเกิดและดับเร็วนั้น.
บาทพระคาถาว่า ยตฺถ กามนิปาติโน ความว่า มักตกไปใน
อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งนั่นแล. จริงอยู่ จิตนี้ ย่อมไม่รู้จักฐานะอันตน
ควรได้ หรือฐานะอันไม่ควรได้, ฐานะอันสมควรหรือฐานะอันไม่สมควร
ย่อมไม่พิจารณาดูชาติ ไม่พิจารณาดูโคตร ไม่พิจารณาดูวัย; ย่อมตกไป
ในอารมณ์ที่ตนปรารถนาอย่างเดียว. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า